เมนู

9. วิปัลลาสสูตร


ว่าด้วยวิปลาสในธรรม 4 ประการ


[49] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส
(ความสำคัญ คิด เห็นคลาดเคลื่อน) มี 4 ประการนี้ 4 ประการคืออะไรบ้าง
คือ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง 1 ในสิ่งที่
เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข 1 ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา 1 ในสิ่งที่ไม่งาม
ว่างาม 1 นี้แล สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส 4 ประการ
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส 4 นี้
4 คืออะไรบ้าง คือ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ว่าไม่เที่ยง
ในสิ่งที่ไม่เที่ยง... ว่าทุกข์ในสิ่งที่เป็นทุกข์... ว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็น
อนัตตา... ว่าไม่งามในสิ่งที่ไม่งาม นี้แล สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส
ทิฏฐิไม่วิปลาส 4 ประการ.
สัตว์เหล่าใดสำคัญว่าเที่ยงในสิ่งที่
ไม่เที่ยง สำคัญว่าสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์
สำคัญว่าเป็นอัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา
และสำคัญว่างานในสิ่งที่ไม่งาม ถูกความ
เป็นผิดชักนำไปแล้ว ความคิดซัดส่ายไป
มีความสำคัญ (คิดเห็น) วิปลาส สัตว์
เหล่านั้นชื่อว่า ถูกเครื่องผูกของมารผูกไว้
แล้ว เป็นคนไม่เกษมจากโยคะ ย่อม
เวียนเกิดเวียนตายไป.

เมื่อใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประดุจ
ดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นในโลก ทรงประกาศ
ธรรมอันนี้ ซึ่งเป็นทางให้ถึงความสงบ
ทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์เหล่านั้น ผู้ที่มีปัญญา
ได้ฟังธรรมของท่านแล้ว จึงกลับได้คิด
เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
และไม่งาม ตามความเป็นจริง เพราะมา
ถือเอาทางความเห็นชอบ ก็ล่วงพ้นทุกข์
ทั้งปวงได้.

จบวิปัลลาสสูตรที่ 9

อรรถกถาวิปัลลาสสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวิปัลลาสสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สญฺญาวิปลฺลาสา ความว่า มีสัญญาความสำคัญคลาดเคลื่อน
อธิบายว่า มีสัญญา 4 วิปริต ความสำคัญที่ตรงกันข้าม. แม้ในสองบทที่เหลือ
ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนิจฺเจ ภิกฺขเว นิจฺจนฺติ สญฺญาวิปลฺลาโส
ความว่า เกิดความสำคัญ ยึดถืออย่างนี้ว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง ชื่อว่าสัญญา
วิปัลลาส. บัณฑิตพึงทราบความในบททุกบท โดยนัยนี้ .
บทว่า อนตฺตนิ จ อตฺตา ความว่า ผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เป็นอัตตาให้สิ่งที่เป็นอนัตตา. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิหตา ความว่า สัตว์จะ
สำคัญอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ ยังถูกแม้มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดที่กำลัง